Click for English version

โรคอาร์พี
โรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้ตาบอด

Retinitis Pigmentosa

The latest discovery to stop the progression

Ending Blindness
จบสิ้นเสียทีโรคที่ทำให้คนตาบอด

คลิ๊กเพื่อดูรายการบอกเก้าเล่าสิบย้อนหลังที่เกี่ยวกับการนวดตา

Happy Society จอประสาทตาเสื่อม

การนวดตารักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม RP ออกรายการ วันนี้ที่รอคอย


เทคนิคการนวดตาเพิ่มการไหลเวียนเลือดเข้าไปในลูกตาได้อย่างไร


รายการ Body & Mind ช่อง ASTV ตอนที่ 1


รายการ Body & Mind ทางช่อง ASTV ตอน 2


คำบอกเล่าผู้ป่วยโรค RP คุณ วัชรพงศ์ อยู่ขวัญ


ตัวอย่างผู้ป่วยโรค RP ในเด็ก


คำบอกเล่าผู้ป่วยโรค RP รายที่ 3


คุณศุภเลิศ จงเกียรติชัย


ความทุกข์ของผู้ป่วยโรคRPที่ยังไม่เคยถูกเปิดเผย


คลิปประธานเครือข่ายผู้ป่วยโรค RP /จอประสาทตาเสื่อม
ยื่นหนังสือให้รับรองเทคนิคการนวดตาแก่ รัฐมนตรว่าการกระทรวงสาธารณสุข



โดย นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
12 สิงหาคม 2549

           โรคอาร์พี เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ค่อยๆทำลายจอประสาทตาอย่างช้าๆ จนกระทั่งตาบอดในที่สุด
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค มีการเสื่อมสภาพของเซลล์รับแสงของจอประสาทตา ที่เรียกว่า Rod และ Cone ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ชั้นล่างสุดของจอประสาทตา โดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่า การเสื่อมสภาพนั้นเกิดจากอะไร ?
Rod cells เป็นเซลล์ที่อยู่รอบนอกของจอประสาทตา ช่วยให้เราเห็นภาพโดยรอบ ที่เรียกว่าลานสายตา และยังทำให้เราเห็นได้ดีในที่แสงน้อยหรือในที่มืด
Cone cells เป็นเซลล์ที่กระจุกอยู่ส่วนกลางของการมองเห็น ในบริเวณส่วนกลางของจอประสาทตา ช่วยให้เราเห็นรายละเอียดของสิ่งที่จ้องมอง และยังช่วยให้เราเห็นแสงสีของสิ่งที่จ้องมองอีกด้วย
           กล่าวโดยรวม เซลล์ทั้งสองทำหน้าที่เปลี่ยนแสง ( ภาพ ) ที่รับเข้ามา ให้เป็นคลื่นไฟฟ้า แล้วส่งผ่าน Bipolar cells ไปยัง Ganglion cells ที่อยู่ชั้นบนสุด เพื่อปรับคลื่นสัญญาน ( Processing ) ก่อนที่จะส่งต่อทางใยประสาทตาไปยังสมอง เพื่อประมวลการมองเห็นทั้งหมด


อาการ มักจะเริ่มด้วย
        1.ปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืน ที่เรียกว่า Night blindness รู้สึกว่าความสว่างของแสงโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ มีปัญหาการปรับสายตา จากที่สว่างไปยังที่ที่มีแสงน้อยกว่า เป็นต้น
        2. เมื่อโรคก้าวหน้าต่อไปอีก จะเริ่มมีปัญหาลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ( Visual field loss )


        3. ในบางรายมีอาการเห็นแสงวาบคล้ายแสงฟ้าแลบ ( Photopsia )
        4.ในระยะท้าย เซลล์ประสาทส่วนที่สำคัญ ( Cone cells ) เริ่มสูญเสีย ทำให้เห็นสีผิดเพี้ยนหรือจืดจางลง และท้ายที่สุด สายตาและการมองเห็นก็จะค่อยๆหมดไป

อาการแสดง สามารถตรวจพบได้ด้วยการหยอดยาขยายม่านตา เพื่อดูจอประสาทตา
        1. พบเส้นเลือดแดงของจอประสาทตา ตีบแคบกว่าคนปกติ ( Attenuation of retinal arterioles )
        2. ตรวจพบรอยเปรอะสีดำที่จอประสาทตา ( Bone spicules pigment )


        3. ระยะท้าย อาจพบว่า ขั้วประสาทตามีสีเหลืองซีด ( Waxy yellow or pale )

การรักษา เนื่องจากทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์และจักษุแพทย์ ยังไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงได้ ดังนั้น เท่าที่ผ่านมา จึงยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้

ความก้าวหน้าล่าสุดในการคิดค้นหาสาเหตุและวิธีรักษาโรคอาร์พี
        สืบเนื่องจากการค้นพบสาเหตุและวิธีการรักษาโรคต้อหินเรื้อรังโดย นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย ทำให้มีการคิดค้นต่อยอดเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาโรคอาร์พี เนื่องจากทั้งโรคต้อหินเรื้อรังและโรคอาร์พี มีอะไรหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้อง ใกล้ชิด หรือเหมือนกัน ได้แก่
        1. มีอาการของโรคเหมือนกัน เช่น เห็นแสงมืดลง ลานสายตาแคบลง เห็นแสงวาบ เห็นสีจืดจางหรือผิดเพี้ยน
        2. มีการดำเนินของโรคเชื่องช้าชนิดค่อยเป็นค่อยไป เหมือนกัน
        3. มีการเสื่อมสภาพของเซลล์ที่จอประสาทตาเหมือนกัน โดยโรคต้อหินมีการตายของ Ganglion cells ที่อยู่ชั้นบน ส่วนโรคอาร์พีมีการตายของ Rod และ Cone cells ที่อยู่ชั้นล่าง
        4. มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่อนข้างชัดเจนเหมือนกัน
        5. โรคอาร์พี มีการตีบของเส้นเลือดแดงที่จอประสาทตา แสดงว่า เลือดแดงไม่สามารถเข้ามาหล่อเลี้ยงเซลล์ภายในลูกตาได้พอเพียง ซึ่งตรงกับสาเหตุที่เพิ่งค้นพบของโรคต้อหินเรื้อรัง และสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการนวดตา
        ดังนั้น หลังจากแนะนำผู้ป่วยโรคอาร์พีท่านหนึ่ง ( อาชีพทันตแพทย์ ) ให้ทดลองรักษาด้วยการนวดตา ผลปรากฏว่า มีการตอบสนองการรักษาเช่นเดียวกับโรคต้อหินเรื้อรัง คือ เห็นแสงสว่างขึ้นหลังจากนวดตาครบ 2 สัปดาห์ ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยก็ได้แนะนำให้น้องชายซึ่งมีปัญหาโรคอาร์พีเช่นเดียวกัน ให้ลองนวดตาดู ก็พบว่า การมองเห็นดีขึ้นเช่นเดียวกัน จากข้อมูลดังกล่าว นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคอาร์พีทั่วโลกที่พอจะเห็นความหวังในการหยุดยั้งโรคนี้ได้แล้ว

1. นส.อุษณีย์ มีเพชรดี อายุ 28 ปี อ.เมือง ขอนแก่น
กลางปี 2550 เริ่มมีอาการเดินสะดุดฟุตบาท มองไม่เห็นยกพื้น หรือร่องน้ำ เดินชนเสา ชนคนที่เดินผ่าน โดยไม่รู้ตัว ซึ่งตอนนั้นคิดว่าน่าจะเกิดจากสายตาที่สั้นเพิ่มขึ้น และก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองมีอาการมองเห็นที่ผิดปกติ จนกระทั่งไปเดินซื้อของกับเพื่อนและมักจะเดินชนเพื่อนบ่อย ๆ จนเพื่อนทักว่า “มองเห็นหรือเปล่า” ก็ยังงง ๆ เพราะไม่คิดว่าตัวเองจะมีอาการผิดปกติ
ตุลาคม 2550 ไปตรวจที่คลินิกจักษุแพทย์ โดยมีการหยอดยาขยายม่านตา และส่องดูภายในลูกตา หมอไม่ได้บอกว่าเป็นโรคอะไร แต่ได้ยินเสียงคุณหมอพึมพำว่า “เส้นประสาทตีบ” และถามว่า 1.มีใครในครอบครัวมีอาการแบบนี้ไหม
2.ตอนกลางคือมองเห็นหรือไม่
สิ่งที่ตอบคำถามคุณหมอไปตอนนั้นก็งง เหมือนกัน เพราะไม่ทราบ และไม่เข้าใจว่าทำไมหมอถึงถามแบบนั้น และก็ไม่ได้รับคำวินิจฉัยโรคใด ๆ และคุณหมอได้ให้วิตามิน (ICAPS) มารับประทาน พร้อมกับนัดให้มาพบอีกครั้งในอีกสองสัปดาห์ สองสัปดาห์ต่อมาไปพบคุณหมอตามนัด คุณหมอถามว่าดีขึ้นหรือไม่ ก็ตอบแบบงง ๆ ว่าก็ดีนะ เพราะก็ยังไม่ทราบว่าตัวเองป่วย และวิตามินที่รับประทานไปสองอาทิตย์นั้นก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น คุณหมอให้วิตามินไว้ทานอีกและไม่ได้มีการนัดตรวจใด ๆ อีกเลย จึงคิดว่าตัวเองไม่ได้มีอาการป่วย หรือผิดปกติใด ๆ แต่น่าจะต้องได้รับวิตามินบำรุงเท่านั้น ดังนั้น เมื่อวิตามินที่คุณหมอให้หมดจึงไปขอรับวิตามินมาทานเองต่อ อีกประมาณครึ่งปี จนในที่สุดก็เลิกทานไปเพราะไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง
มีนาคม 2552 เริ่มสังเกตว่ามีอาการมองด้านข้างไม่เห็น การมองเห็นด้านข้างมืดไป เห็นแต่เพียงบริเวณด้านหน้าตรงเท่านั้น มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทีวี ก็มองเห็นไม่เต็มจอ หรือแม้กระทั่งมองใบหน้าเพื่อน จะมองเห็นเพียงโฟกัสที่อยู่ตรงกลางเท่านั้นส่วนด้านข้างจะมืดไป มองไม่เห็นสิ่งของที่วางขวางอยู่ด้านหน้าที่ต่ำกว่าระดับสายตาที่มอง มักเดินชนเป็นประจำ เดินผ่านเสาก็มักจะเดินชนเสมอ เพราะมองไม่เห็นในมุมที่อยู่นอกเหนือไปจากศูนย์กลางที่มองเห็น มองสิ่งของที่ตกพื้นไม่ทัน ปากกาหล่นพื้นก็มองไม่เห็นในทันทีว่าตกไปที่ไหน ต้องถอยหลังไป 2-3 ก้าว และค่อย ๆ กวาดสายตามองจึงจะเห็น เริ่มแน่ใจว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแน่แล้ว และเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ในขั้นตอนการตรวจ มีการ
- ขยายม่านตา ส่องกล้องดูภายใน
- ตรวจวัดลานสายตา
- X-Ray สมองเพื่อตรวจดูความผิดปกติภายใน (คุณหมอบอกว่าเส้นประสาทตีบตามที่คลินิกจักษุแพทย์ที่เคยตรวจให้ แต่ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการกดทับเส้นประสาทในสมองหรือเปล่า จึงให้ X-Ray ดู)
- ฉีดสีเพื่อถ่ายภาพจอประสาทตา (FFT)
จากผลการตรวจทั้งหมดคุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคอาร์พี โดยได้อธิบายเกี่ยวกับโรคคร่าว ๆ ว่า เกิดจากกรรมพันธุ์ และยังไม่มีการรักษาทั้งในเมืองไทย และในต่างประเทศ คำแนะนำคือรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีเบต้าแคโรทีนเพื่อช่วยบำรุงสายตา หลีกเลี่ยงแสงแดด และควันบุหรี่ ทางที่พอจะทำได้คือ “เข้าคลินิกสายตาเลือนราง” เพื่อเรียนรู้การใช้สายตาในที่แคบ และได้แนะนำให้ไปตรวจยืนยันผลให้แน่ใจอีกครั้ง โดยการตรวจ ERG ที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อยืนยันผลให้แน่ชัดอีกครั้ง
กรกฎาคม 2552 ตรวจ ERG ที่โรงพยาบาลศิริราช ผลการตรวจยืนยันว่าเป็นโรคอาร์พี และคำแนะนำของแพทย์คือ “เข้าคลินิกสายตาเลือนราง” เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์แนะนำ
สิงหาคม 2552 เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนวดตา โดยนวดวัน 6 ครั้งเป็นประจำสม่ำเสมอ ผลที่ได้ด้านการมองเห็นยังคงไม่รู้สึกว่าดีขึ้น แต่ไม่ปวดตาขณะเล่นคอม จึงยังคงนวดต่อไปเรื่อย ๆ
พฤศจิกายน 2553
มองเห็นแสงขาวบริเวณด้านข้าง (ริมขอบด้านนอกสุด) ราง ๆ จากที่แต่เดิมมืดไปแล้ว และเริ่มเห็นเป็นภาพเลือนราง ทดสอบโดยการมองเห็นมือตัวเองที่โบกไปมาได้ แม้ยังไม่ชัด แต่ก็เห็นว่ามีการเคลื่อนไหว และเป็นรูปร่างราง ๆ โดยยังคงนวดตาวันละ 6 ครั้งสม่ำเสมอ
เมษายน 2554 การมองเห็นรูปร่างบริเวณด้านข้างริมขอบชัดเพิ่มขึ้น สังเกตได้บริเวณเดินผ่านพื้นที่ที่มีเสาจะมองเห็นต้นเสาราง ๆ ซึ่งดีกว่าเมื่อก่อนที่มืดไปทั้งหมด และการมองเห็นเพิ่มเติมขึ้น คือมองเห็นบริเวณด้านข้างส่วนกลางเพิ่มขึ้นอีกนิด แต่ยังคงเป็นแบบเลือนรางไม่ถึงกับเป็นภาพชัดเจน และมีอาการตาพร่าเมื่อออกกลางแจ้งที่มีแสงแดดแรง คุณหมอให้นวดตาเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 8 ครั้ง สิงหาคม 2554 อาการตาพร่าลดลง และมองเห็นด้านข้างส่วนกลางเพิ่มขึ้น เริ่มเห็นเป็นรูปร่างมากขึ้น แต่บริเวณจากด้านข้างส่วนกลางย้อนไปบริเวณจุดศูนย์กลางยังคงมีอาการเป็นแสงสีขาว และยังไม่เห็นเป็นรูปร่างชัดเจน แต่ในระยะใกล้สามารถมองเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวได้ ยังคงนวดตาวันละ 8 ครั้งสม่ำเสมอ

2. นาง สุพัตรา รอสเวช อายุ 37 ปี จ.ภูเก็ต อาชีพ พยาบาล
ประวัติ มีปัญหาการมองเห็นมา 10 ปี กลางคืนจะมองไม่ค่อยเห็น ( night blindness ) ลานสายตาการมองเห็นแคบลงต่อเนื่อง ( progressive visual field constriction ) เข้ารับการตรวจกับจักษุแพทย์ ทั้งที่ภูเก็ตและกรุงเทพ แต่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ สามีซึ่งเป็นชาวอเมริกันจึงพาไปรับการตรวจที่มหาวิทยาลัยแพทย์ Johns Hopkins
13 สิงหาคม 2553 ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดหนึ่ง คือ Bietti’s crystalline dystrophy และยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ หลังจากเดินทางกลับมาอย่างผิดหวัง และได้วางแผนการใช้ชีวิตเมื่อตาบอดเอาไว้แล้ว
              วันหนึ่งมีรุ่นพี่ท่านหนึ่งได้แนะนำให้ลองมาพบกับนพ.สมเกียรติ เพราะอาจจะช่วยรักษาโรคของเธอได้ เนื่องจากไม่มีอะไรจะสูญเสียแล้ว เธอจึงมารับการตรวจและได้รับการวินิจฉัยว่าโรคที่เธอเป็นอยู่ น่าจะเป็น variation หนึ่งของโรคจอประสาทตาเสื่อมอาร์พี และหลังจากได้รับการสอนให้นวดตาด้วยตนเอง ก็ทำให้การมองเห็นของเธอดีวันดีคืน โดนเฉพาะตาซ้ายซึ่งใกล้จะบอดสนิท ก็กลับมาเห็นดีขึ้นจนสามารถอ่านหนังสือได้แล้ว
3 ตุลาคม 2553 เข้ารับการตรวจ การมองเห็นในขณะนั้น V.A. ตาขวา 20/70-1 ตาซ้าย Hm ( เห็นเพียงมือโบกไหวๆเท่านั้น ) ผลการตรวจจอประสาทตา พบว่า ขั้วประสาทตาปกติ ศูนย์กลางการมอง (macula )และจอประสาทตาทั้งหมด มีความเสื่อมสลาย และมีเม็ด crystal ฝังอยู่ทั่วไป เส้นเลือดของจอประสาทตาค่อนข้างตีบแคบกว่าปกติ ได้สอนให้ผุ้ป่วยนวดตาด้วยตนเอง ครั้งละ 2 นาทีครึ่ง วันละ อย่างน้อย 6 ครั้ง การมองเห็นของผุ้ป่วยก็ดีวันดีคืนมาอย่างต่อเนื่อง
14 กุมภาพันธ์ 2554 ผุ้ป่วยสังเกตุได้ว่า ตาซ้ายดีขึ้นมากจนสามารถอ่านหนังสือได้เป็นตัวๆ และต่อมา ก็สามารถอ่านได้ทั้งบรรทัด
15 มีนาคม 2554 ระดับการมองเห็น ตาขวา 20/30-2 ตาซ้าย 20/200
              เนื่องจากโครงสร้างของจอประสาทตาเมื่อเสื่อมไปแล้ว ถึงแม้จะไม่สามารถกู้คืนโครงสร้างดังกล่าวได้ก็ตาม แต่การนวดตา สามารถฟื้นฟู Function การทำงานของจอประสาทตาที่เหลืออยู่ได้ ขณะนี้ ผู้ป่วยสามารถออกไปเข้าสังคมและวางแผนจะหางานทำต่อไปในอนาคตแล้ว

3. ดช.พชรพล ................ อายุ 11 ปี บางซื่อ กรุงเทพ
ประวัติ มีปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืน มักจะเดินชนข้าวของ เวลากลางวันไม่สามารถเล่นกีฬาบางชนิดได้เช่น แบดมินตัน บาสเก็ตบอล เนื่องจากมองลูกไม่ทัน มารดาจึงพาไปรับการตรวจที่รพ.รามาธิบดี จักษุแพทย์ให้การวินิจฉัยเป็นโรค RP ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษา แต่ได้บอกกับมารดาของผุ้ป่วยว่า มีจักษุแพทย์ไทยที่อาจจะรักษาบุตรชายได้ ให้ลองค้นในอินเตอร์เน็ตดู
หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยการนวดตา เป็นเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยกลับมาเห็นเหมือนคนปกติในเวลากลางคืน และสามารถเล่นกีฬาแบดมินตันและบาสเก็ตบอลล์ได้แล้ว
หมายเหตุ ผู้ป่วยโรคอาร์พี หากทราบเร็ว รับการวินิฉัยเร็ว แล้วรักษาด้วยการนวดตา ก็สามารถปรับเปลี่ยนชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไปจนสิ้นอายุขัย

4. นางอิงกมล ............. อายุ 32 ปี อาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ คลองเตย กรุงเทพ
ประวัติ ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคRPจากการตรวจจอประสาทตาก่อนจะทำผ่าตัดแก้สายตาสั้น ( LASIC ) และทราบว่าโรคนี้ยังรักษาไม่ได้ จึงได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ และบังเอิญค้นพบข้อมูลการรักษาโรค RP ด้วยการนวดตา หลังจากเข้ารับการรักษาแล้วพบว่า การมองเห็นดีขึ้น ทั้งในเรื่องความคมชัดและลานสายตากว้างขึ้น การมองเห็นในที่มืดก็ดีขึ้น

5. นายชวลิต ทองใบใหญ่ อายุ 55 ปี อาชีพ ครู อ.เมือง ราชบุรี
ประวัติ 10 ปีเศษ มีปัญหามองไม่ชัดเวลากลางคืน ทำให้ไม่สามารถขับขี่รถในเวลากลางคืน ไปรับการตรวจที่รพ.รามาธิบดี ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจอรับภาพเสื่อม และไม่มีวิธีรักษา จึงตระเวณไปตรวจที่รพ.ราชวิถี, รพ.ศิริราช, รพ.ราชบุรี ทุกแห่งให้การวินิจฉัยตรงกันว่าเป็นโรค RP ได้ลองค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตจนพบวิธีรักษาโรค RP ด้วยการนวดตา หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยการนวดตา เพียง 1 เดือน การมองเห็นดีขึ้น และสามารถขับขี่รถเครื่องในเวลากลางคืนได้แล้วเห็นแสงไฟสว่างขึ้นมาก

6. นายอนิรุตต์ ผลพิทักษ์ อายุ 33 ปี บางคนที สมุทรสงคราม
ประวัติ เริ่มมีปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืนตั้งแต่อายุ 18 ปี 3-4 ปีหลัง ไม่สามารถเล่นฟุตบอลได้ เนื่องจากมองลูกไม่ทัน เข้ารับการตรวจที่รพ.ศิริราช จักษุแพทย์วินิจฉัยเป็นโรค RP และแจ้งว่ายังไม่มีวิธีรักษา
วันที่ 26 กันยายน 2552 เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการนวดตา การมองเห็นในขณะนั้น ตาขวา 20/40-2 ตาซ้าย 20/40-1
วันที่ 24 ตุลาคม 2552 หลังการรักษาด้วยการนวดตา 1 เดือน พบว่า การมองเห็นดีขึ้น ทั้งลานสายตาที่เห็นกว้างขึ้น และความคมชัดเพิ่มขึ้น ตาขวา 20/20-3 ตาซ้าย 20/20-1

7. นายวิทยา สมลือชาชัย อายุ 34 ปี อ.เมือง นครราชสีมา
ประวัติ 10 กว่าปีก่อน มองตัวหนังสือไม่ชัด ไปตรวจที่รพ.จักษุรัตนิน พบขั้วประสาทตาฝ่อซีดทั้งสองข้าง รักษาไม่ได้ ต่อมาได้พยายามลองไปตรวจที่รพ.โคราชเมมโมเรียล, รพ.มหาราชนครราชสีมา และรพ.วัดไร่ขิง ทุกแห่งให้ข้อสรุปตรงกัน คือโรคRP และยังไม่มีวิธีรักษา
ต่อมาได้ทราบว่า มีวิธีรักษาโรคนี้ด้วยการนวดตา จึงเดินทางเข้ามารักษา
วันที่ 8 ก.พ.2553 เริ่มรับการรักษาด้วยการนวดตา ระดับการมองเห็นในขณะนั้นคือ Fc 1 ft.ทั้งสองตา
วันที่ 22 ก.พ.2553 เริ่มจะเห็นดีขึ้นบ้าง ตาขวา Fc 1’ ตาซ้าย 5/200
วันที่ 3 พ.ค.2553 การมองเห็นดีขึ้นมาก ความคมชัด แสงสว่างขึ้น เห็นกว้างขึ้น สามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง ตาขวา 5/200 ตาซ้าย 5/200

8. นาย สวภาคย์ จโนภาส อายุ 56 ปี จ.นนทบุรี
9. นาย ชัยวัตร ดำศรีสวัสดิ์ อายุ 32 ปี จ.จันทบุรี
10. นาย ภานุพล สุคง อายุ 39 ปี อ.สารภี จ.เชียงใหม่
11. นางสาว อติภา ทองกลม อายุ 31 ปี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
12. นาง สุพรรษา ทับแก้ว อายุ 30 ปี อ.เมือง จ.เชียงใหม่
13. นาง มาดี วีระกิจพานิช อายุ 62 ปี หลักสี่ กทม.
15. นาย กชกร แย้มสอาด อายุ 30 ปี อาชีพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
16. นาง จิราภรณ์ ประยูรหงษ์ จังหวัด สมุทรสงคราม
17. คุณ สมใจ อ่องสุวรรณ
18. คุณ สมยศ เลขาลาวัณย์
19. นางสาว ดวงกมล จันทรเดช อายุ 30 ปี จังหวัด ปทุมธานี
20. พระภิกษุ กล้า ฐิตธัมโม จังหวัด ราชบุรี
21. นางสาว จงกลณี ภารัตไกวัลย์ จังหวัด กทม. บางอ้อ
22. นาง มณฑา ตั้งหลักมงคล จังหวัด กทม. บางอ้อ
23. นางสาว ประภัสสร บุบผาชาติจังหวัด นครนายก
24. นางสาว สมนึก ปราณีมาไพร อายุ 48 ปี จังหวัด สมุทรปราการ
25. นางสาว บุญเสียง เฮงเต็ก จังหวัด กรุงเทพ
26. นาง จีรณา นพศิริ อายุ 44 ปี อ. แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
27. นาย ประสิทธิ์ เหลืองธำรงเจริญ
28. นาง กาหลง แจ่มจันทร์ อายุ 47 ปี
29. นาง อินทิรา สิงห์คำมา อายุ 51 ปี จอมทอง กทม. อาชีพ ครู รร.บางมดวิทยา
30. นาย รติพันธ์ จันทรมิตรี อายุ 51 ปี เขต บึงกุ่ม กทม.
31. นาย บุญส่ง สิทธิแสงวัฒนา อายุ 56 ปี อาชีพ นักธุรกิจ
32. นาย ไพรัช หล่อวิเชียร อายุ 39 ปี อาชีพ ทำธุรกิจส่วนตัว อ.เมือง จ.ลำปาง
33. นาย ภูษิต หุตินันท์ อายุ 57 ปี (Cone-Rod Dystrophy)
34. นาย พิชิต ลีประโคน อายุ 35 ปี อาชีพ พนักงานบริษัท จ.ปทุมธานี(Cone-Rod Dystrophy)
35. นาย บัญชา กุดกุง อายุ 42 ปี อาชีพ เขียนแบบ
36. นาง พรรณวดี ประสังคะเต อาชีพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
37. นาง อัญชลี พาชีล์เค อายุ 56 ปี อ. เมือง จ.พิษณุโลก ที่อยู่ปัจจุบัน พรีเมียร์เฟอเดอ เมือง เบรเมน ประเทศ เยอรมนี
38. นาย พจน์ ..... อายุ 34 ปี กิ่ง อ.ภูซาง จ.พะเยา
39. นางสาว ชื่นกมล ทับทิมศรี อายุ 31 ปี อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
40. นาง จีรณา นพศิริ อายุ 44 ปี อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
41. นางสาว อารี รัตน์ แต่งวงศ์วาฬ อายุ 25 ปี ต.หัวรอ จ. พระนครศรีอยุธยา
       ตรวจพบเป็นโรคอาร์พีที่ รพ.รามาและจักษุรัตนัน
      วันที่ 10/8/2555 ระดับการมองเห็น ตาขวา Fc 1 ฟุต (นับนิ้วได้ที่ 1 ฟุต), ตาซ้าย Hm (เห็นเพียงมือโบก)
      เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
      วันที่ 24/1/2557 ระดับการมองเห็น ตาขวา17/200 , ตาซ้าย 19/200
42. นางสาว ณัฐณิชา นิลแก้ว อายุ 24 ปี อาชีพ Programmer บางนา กรุงเทพ
43.นางสาว นวศิลป์ รัตนประสิทธิ์ อายุ 15 ปี คันนายาว กรุงเทพ
44. นางสาว อธิกา พัฒนพงศ์ อายุ 34 ปี
45. นาย ศุภเลิศ จงเกียรติชัย อาชีพ จนท.ควบคุมระบบออกอากาศของสถาณีโทรทัศย์รามาแชนแนล ราชเทวี กรุงเทพ
46. นาย อดุลย์ สรรพกิจกำจร อายุ 48 ปี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
47. นางสาว จารินี กรจรุงเกียรติ อายุ 36 ปี เขต หนองแขม กรุงเทพ
48. นางสาว วิรงรอง แซ่เล้า อายุ 44 ปี อ.เมือง จ.ชลบุรี
       วันที่ 1 สิงหาคม 2555 เริ่มรักษาด้วยการนวดตาระดับการมองเห็น 5/200 ทั้ง 2 ข้าง มองผ่านรูแก้สายตาเอียงมองเห็น 20/100 ทั้ง 2 ข้าง
       วันที่ 5 ธันวาคม 2555 ระดับการมองเห็น 20/200 ทั้ง 2 ข้างมองผ่านรูแก้สายตาเอียง 20/50-2 ทั้ง 2 ข้าง
49. นาย มีชัย ใหม่จันดี อายุ 27 ปี อาชีพ วิศวกรไฟฟ้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
      วันที่16 ตุลาคม 2555 ลาออกจากงานมา 1 ปี เนื่องจากมีปัญหาการมองเห็นในที่แสงน้อย
      เริ่มการรักษาด้วยการนวดตา ระดับการมองเห็น ตาขวา 20/30 -1 ตาซ้าย 20/30 -1
      วันที่ 3 ธันวาคม 2555 กลางคืนเริ่มมองเห็นดีขึ้น ระดับการมองเห็น ตาขวา 20/20 -2 ตาซ้าย 20/20 -2
50. นาย วัชรพงศ์ อยู่ขวัญ อายุ 19 ปี อาชีพ นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
      ประวัติ มองกลางคืนไม่เห็นมา 2 ปี ตรวจที่ รพ.จักษุรัตนิน พบเป็นโรคจอตาเสื่อม RP รักษาไม่ได้จึงไปตรวจติดตามผลที่ รพ.รามาธิบดี
      วันที่ 21 ม.ค. 56 เริ่มการรักษาด้วยการนวดตา
      วันที่ 18 เม.ย. 56 สามารถเดินจากที่แจ้งเข้าที่ร่มได้เลย โดยไม่ต้องหยุดปรับสายตา
      วันที่ 16 พ.ค. 56 มองเห็นเวลากลางคืนดีขึ้นมาก เวลาเข้าโรงภาพยนตร์สามารถเดินในที่มืดได้เหมือนคนปกติ อาการตาบอดสีดีขึ้นมากเช่นกัน
51. นายระบิล พาลีบุตร อายุ 43 ปี ที่อยู่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
      ประวัติ เริ่มรักษาด้วยการนวดตา ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2556
      วันที่ 18 ธ.ค. 2556 มั่นใจแล้วว่าการนวดตาช่วยหยุดบอดได้


ผู้ป่วยอาร์พีที่สายตามืดมัวอย่างรวดเร็ว
             โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคอาร์พีส่วนใหญ่ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ การมองเห็นค่อยๆเลวลงช้าๆต่อเนื่องจนตาบอดในที่สุด แต่มีบางรายที่จู่ๆ เกิดอาการตามัวลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังตัวอย่างผู้ป่วยต่อไปนี้
นาย มาโนช มธุรส อายุ 52 ปี อาชีพ ครู ที่อยู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี
       วันที่ 12 พ.ค. 2555 เข้ารับการตรวจพบว่าระดับการมองเห็น เห็นเพียงมือโบกไหวๆ (Hand Motion) ทั้ง 2 ตา ต้องมีญาติจูงมือเข้ามาตรวจ และเริ่มรับการรักษาด้วยเทคนิคการนวดตา
      วันที่ 23 มิ.ย. 2555 ระดับการมองเห็นดีขึ้นมาก สามารถเดินเข้ามาเองได้ ตาขวา อ่านตัวเลขได้แถวที่ 6 20/30-1 ตาซ้าย อ่านตัวเลขได้แถวที่ 7 20/20-3


ติดต่อ นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
e-mail [email protected]
ติดต่อเข้ารับการรักษา ศูนย์ฟื้นฟูประสาทตาและการมองเห็น
โรงพยาบาลเอกชัย. โทร. 084-646-4422
แก้ไขล่าสุด 14/10/2023

กลับสู่หน้าหลักงานวิจัยของน.พ. สมเกียรติ